โครงการ

Close

ศิลปวัฒนธรรม

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมไทย “มรดกโลก : ศรีเทพ ทวารวดี ศรีอยุธยา”

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมไทย “มรดกโลก : ศรีเทพ ทวารวดี ศรีอยุธยา”

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร , เพรชบูรณ์, พระนครศรีอยุธยา


THE
HISTORICAL
WAY

เส้นทางประวัติศาสตร์
สู่การเรียนรู้


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 4 ต่อจากเมืองสุโขทัย นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และเป็นมรดกโลกแห่งที่ 7 ของไทย ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 45 ที่กรุงรียาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย จากที่ยื่นให้พิจารณาไปตั้งแต่ปี 2564 โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า The Ancient Town of Si Thep and its Associated Dvaravati Monuments ที่ประกอบไปด้วยเมืองโบราณศรีเทพ โบราณสถานเขาคลังนอก ที่ตั้งอยู่ห่างออกไปไม่มากนัก และเพิ่งบูรณะเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2555 ส่วนสุดท้ายคือโบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์ ที่ห่างออกไปอีกราว 15 กิโลเมตร


เรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมไทย “มรดกโลก : ศรีเทพ ทวารวดี ศรีอยุธยา”

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร , เพรชบูรณ์, พระนครศรีอยุธยา


เรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมไทย “มรดกโลก : ศรีเทพ ทวารวดี ศรีอยุธยา”


     มูลนิธิสุทธิรัตน์ฯ ร่วมกับกรมศิลปากร พาบุคคลทั่วไป เรียนรู้ประวัติศาสตร์ โครงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย” ครั้งที่ 3 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์จำนวน สิบ แห่งของประเทศไทยปัจจุบันที่จัดตั้งขึ้นโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ สำหรับชื่อเรียก “ศรีเทพ” นั้นเป็นการอนุโลมตามพระวินิจฉัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย ที่ได้ทรงสันนิษฐานไว้ในคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. ๒๔๔๗

     เป้าหมายในกิจกรรมครั้งนี้เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สมัครเข้ามาเป็นอาสาสมัคร Goal Together ได้นำความรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยที่ได้จากการทัศนศึกษานี้ จะเผยแพร่องค์ความรู้ เรื่อง มรดกโลก : ศรีเทพ ทวารวดี ศรีอยุธยา ในรูปแบบใด เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ในตำราและวัฒนธรรมที่ส่งต่อกันมาสูญหายไป

     อาสาเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ได้สัมผัสประสบการณ์จริง จะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้รู้สึกสำนึกรัก ตระหนัก เห็นคุณค่าและความสำคัญของมรดกที่แสนมีค่าเหล่านี้ และมีส่วนร่วมกันเป็นพลังในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยเราต่อไป